Mainboard
Mainboard หรือ
Systemboard หรือ
Motherboard มีลักษณะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่
(เป็นแผงวงจรไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในเคื่องคอมพิวเตอร์)
ทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆให้ทำงานร่วมกันได้
ซึ่งเมนบอร์ดเปรียบเสมือนศูนย์กลางในการทำงาน และเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, Hard Disk, CD-ROM, Floppy Disk, VGA Card เป็นต้น สิ่งที่อยู่บน mainboard มีลักษณะและหน้าที่ใช้งานดังนี้
BIOS
(Basic Input/Output System)เป็นชิปสำหรับใช้เก็บโปรแกรม
และข้อมูลขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตระบบของคอมพิวเตอร์และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ
การเซ็ตค่าต่างๆ ของอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์
ไบออสรุ่นใหม่ๆ จะสนับสนุนการทำงานแบบ Plug & Play และเราสามารถทำการอัพเดตไบออสให้รองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆ
ได้โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Flash ROM ซึ่งหน่วยความจำแบบ
ROM นี้อาศัยไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ก้อนเล็กๆ
ที่อยู่บนเมนบอร์ด เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้แม้ปิดเครื่อง
สล็อต หรือ ซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียู
เป็นส่วนที่ใช้สำหร้บเสียบซีพียูลงไป
ซึ่งเมนบอร์ดส่วนใหญ่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ จะเป็นแบบซ็อกเก็ตมากกว่าที่จะเป็นแบบสล็อต
เพราะมีต้นทุนในการผลิตที่ถูกกว่านั่นเอง เรามารู้จักสล็อต
และซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียูกันดีกว่า
2.1 Slot สำหรับอินเทอร์เฟตแบบสล็อตนี้ ก็จะมีทั้งแบบสล็อต 1 สล็อต
A ขึ้นอยู่กับซีพียูที่คุณใช้ หากเป็นของทางฝั่งอินเทล ก็จะเป็นแบบสล็อต 1 หรือหากเป็นเอเอ็มดี ก็ใช้แบบสล็อต A แต่ในปัจจุบันนี้
เราไม่ค่อยพบเห็นเมนบอร์ดที่เป็นแบบสล็อตแล้ว
ส่วนใหญ่จะใช้กับซีพียูที่มีสถาปัตยกรรมแบบเก่า
2.2 Socket รูปแบบของเมนบอร์ดที่เป็นชนิดซ็อกเก็ตในปัจจุบันนี้ เป็นที่นิยม
และ แพร่หลายมาก ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมา ก็เป็นแบบซ้อกเก็ตหมดแล้ว
หากเป็นซีพียูเพนเทียม โฟร์
ก็จะมีอินเทอร์เฟตแบบซ็อกเก็ต 478 หรือถ้าเป็นตระกูลเพนเทียม ทรี และ เซลเลอรอน
จะจะเป็นแบบซ้อกเก็ต 370
สำหรับซีพียูในตระกูลเอเอ็มดี ก็จะเป็นสถาปัตยกรรมแบบซ็อกเก็ต A หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ซ็อกเก็ต 462 โดยจำนวนตัวเลขที่เห็นอยู่นั้น
แสดงถึงจำนวนขาของซีพียูนั่นเอง
สล็อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำหลัก ในปัจจุบัน
เมนบอร์ดส่วนใหญ่มักจะมีสล็อตติดตั้งหน่วนความจำหลักมาให้อยู่ 3 ชนิด ได้แก่ หน่วนความจำแบบ SDRAM, DDR SDRAM สล็อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ
มีลักษณะเป็นแถวเรียงกันอยู่ใกล้ๆกับชิปเซ็ต และซีพียู
4.1 สล็อตสำหรับ
SDRAM เป็นสล็อตแบบ DIMM ขนาด 168 พิน สังเกตได้จากในภาพว่าใน 1 สล็อต
จะมีช่องแบ่งไว้ 2 จุด ใช้ได้กับเฉพาะหน่วยความจำแบบ SDRAM
เท่านั้น
4.2 สล็อต
DDR SDRAM สำหรับสล็อตแบบนี้
เราเรียกสล็อตแบบ DDR DIMM มีขนาด
184 พิน
โดยข้อแตกต่างที่สังเกตได้ง่าย คือ ตรงส่วนของสล็อต
จะมีช่องแบ่งเพียงแค่ 1 จุด ใช้ได้กับหน่วยความจำแบบ DDR
SDRAM
4.3 สล็อตสำหรับ
RDRAM หรือเรียกกันว่า RAMBUS ซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้งานร่วมกับซีพียูเพนเทียม โฟร์ โดยเฉพาะ
เพราะเป็นหน่วยความจำที่ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาหน่วยความจำชนิดอื่น สล็อตโมดูลของหน่วยความจำแบบ 184 พิน ซึ่งสังเกตได้จากช่องที่แบ่งจะอยู่ตรงกลาง 2 จุด
สล็อตเสริมสำหรับเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติมต่างๆ
ในเมนบอร์ดที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้ติดตั้งสล็อตเสริมเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆ
ที่จำเป็นต่อการใช้งานมาให้ด้วย ซึ่งสล็อตที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย
5.1 สล็อต
PCI (Peripheral Component Interconect) เป็นสล็อตลักษณะยาวๆ สีขาว แต่ช่วงหลังๆ
ผู้ผลิตต่างออกแบบให้มีสีสันที่สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจ สล็อต
PCI นี้ เป็นช่วงสำหรับรองรับกับการ์ดต่างๆ
ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI มีการส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต และมีความเร็ว 33 เมกะเฮิรตซ์
5.2 สล็อต
ISA (Industry Standard Architecture) สำหรับสล็อตแบบนี้ มีการส่งข้อมูลครั้งละ 16
บิต มีลักษณะสีดำ รูปร่างของสล็อตจะมีขนาดที่ยาวกว่าสล็อต PCI เล็กน้อย
ซึ่งปัจจุบันเราแทบไม่ค่อยได้พบเห็นสล็อต ISA ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ แล้ว
ทั้งนี้เพราะการ์ดที่ออมมามักจะใช้อินเทอร์เฟซแบบ PCI กันหมดแล้ว
5.3 สล็อต
AGP (
5.4 สล็อต CNR (Communication and
Networking Riser) ในเมนบอร์ดบางรุ่น บางยี่ห้อจะติดตั้งสล็อต CNR มาให้ด้วย ซึ่งสล็อตชนิดนี้ ใช้สำหรับใส่การ์ดจำพวกเน็ตเวิร์ค
และการ์ดโมเด็ม ที่เป็นแบบรวมความสามารถทั้งสองอย่างเช้าด้วยกัน
-
Slot PCI เป็น
slot สีขาว ทำหน้าที่สำหรับเป็นที่ติดตั้ง Card ต่างๆ มีอัตราส่งข้อมูลอยู่ที่ 32 bit
-
Slot AGP เป็น slot สั้นกว่า PCI เล็กน้อย สีน้ำตาล สำหรับติดตั้ง Card VGA มีความเร็วในการส่งข้อมูล
64 bit
ชิปเซ็ต (Chipset) เมนบอร์ดจะมีความสามารถในการรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆ
ได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับชิปเซ็ตเป็นหลัก
สำหรับหน้าที่ของชิปเซ็ต คือ
ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ
หลักๆ คือ
1.1 NorthBridge ชิปเซ็ตที่กำหนดว่าเมนบอร์ดของคุณนั้น
มีความสามารถในการรองรับความเร็วของซ๊พียูได้ในระดับไหน
หรือ สนับสนุนหน่วยความจำประเภทไหนได้บ้าง โดยชิปเซ็ตนี้มีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ
ที่ทำงานด้วยความเร็วระบบบัสสูงๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ และการ์ดแสดงผล
1.2
การซื้อ Mainboard เราควรดูว่าเราจะใช้กับ
CPU อะไร เพื่อจะได้เลือกซื้อ SOCKET ได้ถูกต้อง
และที่สำคัญต้องดูว่า Chipset บน Mainboard
เป็น Chipset อะไรเพื่อจะได้ใช้งานกับ CPU
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
IDE Connector
เป็นส่วนที่ใช้ต่อกับอุปกรณ์จำพวกดิสก์ไดรฟ์ต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดีรอม หรือ ฟลอปปี้ดิสก์
ซึ่งอินเทอร์เฟซของ
IDE ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดิสก์ไดรฟ์นี้
ปัจจุบันได้มีการพัฒนามาถึงเทคโนโลยี ATA 100 และ ATA
133 แล้ว ซึ่งจะมีอัตราการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 100 และ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที สำหรับการทำงานของ IDE
นี้ ถูกควบคุมโดยชิปเซ็ตด้าน SouthBridge และในอนาคตก็จะมีเทคโนโลยี Serial
ATA ออกมาแทนเทคโนโลยี IDE แล้วด้วย
เพราะเทคโนโลยี Serial ATA นี้
สามารถพัฒนาให้มีความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้มากกว่า 150 เมกะไบต์ต่อวินาที
พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกต่างๆ พอร์ตต่างๆ เหล่านี้ จะอยู่ด้านหลังของเคส ในกรณีที่คุณประกอบเมนบอร์ดลงไปในเคสแล้ว โดยประกอบด้วย พอร์ต PS/2 ที่ใช้สำหรับต่อเมาส์ และคีย์บอร์ด อีกทั้งยังมีพอร์ต Serial หรือ พอร์ตอนุกรม ซึ่งเป็นคอนเน็กเตอร์แบบ DB-9 มี 9 ขา ต่อมาก็เป็นพอร์ตพาราเรลสำหรับต่อพรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ หากเป็นเมนบอร์ดที่มีระบบเสียงออนบอร์ด ก็จะเพิ่มพอร์ต Audio มาให้ด้วย หรือถ้าเป็นระบบการแสดงผลออนบอร์ด ก็จะเพิ่มพอร์ต DB-15 สำหรับต่อกับจอมอนิเตอร์ นอกจากนี้ ยังมีพอร์ต ยูเอสบี ซึ่งแบ่งเป็น USB เวอร์ชัน 1.1 ที่มีความเร็ว 12 เมกะบิตต่อวินาที และ USB เวอร์ชัน 2.0 มีความเร็ว 480 เมกะบิตต่อวินาที
Harddisk
Harddisk หมายถึง
จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กใข้เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากๆ
โดยปกติจะบรรจุไว้ในกล้องมิดชิด บางทีเรียก "Fixed disk" Harddisk เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลไว้ด้เป็นการถาวรตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อมูลก็จะไม่ศูนย์หายไปไหน สามารถอ่านเละบันทึกข้อมูลเพิ่มลงได้
ขนาดความจุวัดกันเป็น MB หรือ GB ความเร็วทั่วไปคือ 5400 รอบต่อนาทีแต่ในปัจจุบันนี้เริ่มนิยมความเร็ว
7200 รอบต่อนาทีเนื่องจากมีราคาต่างจาก 5400 รอบ เพียงไม่กี่ร้อยบาท ส่วน Harddisk ที่เป็น scsi
port นั้นราคายังสูงมากแต่มีความเร็วหมุนจานที่ 10000
รอบต่อนาทีขึ้นไป
Harddisk สามารถอ่านวิธีการ
Set
Jumper ให้เป็น Master หรือ Slave หรือให้ Cable Select ได้จากบนตัวฮาร์ดดิสก์นั่นเอง รวมทั้งจะมีตัวเลขของคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น Cylinder , Heads , Sectors ของ HDD ตัวนั้นไว้ด้วย
ซึ่งค่าตัวเลขเหล่านี้จะช่วยในการกำหนดขนาดของหน่วยความจุในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ
นั่นเอง ปกติแต่ละตัวจะมีการตั้ง Jumper เป็น Master และขา